วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาการของสมอง

              สมองมีการพัฒนาการโดยเกิดขึ้นจากการเพิ่มขนาดและจำนวนของแขนงประสาท คื เดนไดรด์(dendrites) ในเนื้อสมองส่วนคอร์เทกซ์ (cortex)  และการที่ระบบประสานข้อมูลเริ่มพัฒนาขึ้น  คือมีการ
สร้างไมยาลิน ( myelination) ในเนื้อสมองส่วนใต้เปลือกสมอง และโดยเฉพาะในส่วน corpous callosum  ทำให้มีการทำงานที่ประสานกันมากขึ้น  ดีขึ้น ในระบบรับความรู้สึก ( sensory) กับระบบควบคุมการเคลื่อนไหว ( mortor) ทำให้สมองพร้อมรับการสำรวจทำความรู้จักโลก  สมองจดจำและสร้างความสัมพันธ์กับระบบภาษา  สมองพัฒนาความคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับกระบวนแบบ(pattern)  ง่ายๆ  ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อเนื่องมาจากวัยก่อนอนุบาล  และเป็นพื้นฐานของการพัฒนาความคิดวิเคราะห์ที่ซับซ้อน  ถึงแม้
จะเป็นเรื่องทางวิชาการแต่ในฐานะที่เป็นครูจำเป็นต้องเข้าใจความรู้เรื่องสมองดังกล่าวเพื่อได้นำความรู้เบื้องต้นด้านสมองมาใช้ในการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กๆ   ครูหรือผู้ใหญ่ต้องคอยช่วยเหลือ ดูแล
สนับสนุน  เพราะเด็กมีข้อจำกัดหลายประการ   ความซับซ้อนต่างๆ เด็กยังไม่เข้าใจ เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ซึ่งต้องคอยทำความซับซ้อนให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ คือการพัฒนาสมองของเด็กนั่นเอง

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ปัจจัยที่มีผลต่อสติปัญญาของเด็กปฐมวัย

         เด็กแต่ละคนมีสติปัญญาที่แตกต่างกัน  ถ้าครูได้รู้และมีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญแล้วก็จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนหรือการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย  เหตุที่เด็กแต่ละคนมีสติปัญญาที่แตกต่างกันนั้นมีเหตุที่ทำให้เกิดความแตกต่างกันคือ
       พันธุกรรม   มีผลต่อสติปัญญา   ร้อยละ   30-60
       สิ่งแวดล้อม    ที่พอจะกล่าวได้มีดังนี้
               การอบรมเลี้ยงดู 
               อาหาร
               อาหารสมอง 
               ประสบการณ์ต่างๆ
                การฟังนิทาน
                การช่วยทำงาน
                การดูแลช่วยเหลือตนเองตามวัย
                การเล่นเกมสร้างสรรค์ต่างๆ
                การได้รับคำยกย่องชมเชย
                การไม่ถูกดุด่าเด็กทุกวัน
                การได้เข้าสัมผัสกับสังคมในชีวิตประจำวัน
                การออกกำลังกาย
                การคิดในทางบวก
                การมองโลกในแง่ดี 
                การมีสมาธิ
                การช่วยเหลือผู้อื่น
                การมีอารมณ์ดี
                   ทั้งหมดที่กล่าวคงจะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูเด็กได้ใช้เป็นแนวทางในการอบรมเด็กในความรับผิดชอบให้มีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่มีคุณภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การพัฒนาความจำ

                ปัจจุบันเราคิดว่าความจำไม่จำเป็น  บางคนกลับละเลยไม่สอนให้เด็กจำขณะจัดประสบการณ์ให้กับเด็กเล็ก  ความจำนั้นยังมีความจำเป็นอยู่ในการเรียนการสอนและในชีวิตประจำวันของเรา  ยิ่งเด็กปฐมวัยแล้วเราต้องทำให้เด็กของเรามีกระบวนการในการจำอย่างเป็นระบบ ซึ่งครูปฐมวัยจะต้องฝึก
ตนเองก่อนเป็นอันดับแรก   จะขอนำเคล็ดลับ การพัฒนาความจำมานำเสนอดังนี้  จากหนังสือของ
โดมินิก   โอเบรียน  ซึ่งครองแชมป์การแข่งขันความจำระดับโลกถึง 8 สมัย  ได้แนะนำวิธึพัฒนาความจำชั้นเยี่ยมขึ้นอยู่กับกระบวนการพื้นฐาน  3 ประการ คือ  1. การทำให้จำง่าย  2. เก็บสิ่งที่ต้องการจำไว้ในใจ
3. ระลึกถึงมันได้อย่างถูกต้องอีกครั้งในอนาคต     สิ่งสำคัญในการจำคือ  สมองต้องพัฒนาและต้องได้รับการพัฒนาตั้งแต่วัยเด็ก โดยการสร้างวิธีเชื่อมคำเข้าด้วยกัน โดยอาศัยพลังจินตนาการของเรา เช่น  ถ้าเราต้องการจำสิ่งของ 5  อย่างเรียงตามลำดับ เช่น  มือ เนย แม่เหล็ก  หนังสือ และแผนที่   ให้ลอง
จินตานาการว่าจุ่มมือของคุณลงในเนย  แล้วดึงแม่เหล็กออกมา แม่เหล็กจะดึงดูดตัวเราเข้าไปในหนังสือ   ซึ่งปรากฏว่าเป็นหนังสือแผนที่   นอกจากนั้นการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ   เพื่อผ่อนคลายและป้อนออกซิเจนเข้าสู่สมอง จะช่วยให้เราจดจำเรื่องราวต่างๆ  โดยใช้ภาพ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการเรียนรู้โดยมี  กฎทอง 5  ข้อ  ในการจำระยะยาว คือ  การทบทวน 5 ครั้ง  ได้แก่ 1 ชั่วโมงถัดไป  จากนั้น 1 วันถัดไป  1 อาทิตย์ถัดไป 1 เดือนถัดไป  และ 3เดือนถัดไป

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

              กิจกรรมเสริมประสบการณ์ หรือกิจกรรมในวงกลมมีจุดประสงค์เพื่อเน้นให้เด็กฝึกทักษะกระบวนการมากกว่าเนื้อหา   กระบวนการในเด็กนั้นเมื่อเกิดการเรียนรู้แล้วจะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจในเนื้อหาได้เอง สิ่งที่ได้จากการจัดประสบการณ์ดังกล่าวทำให้เด็กมีพฤติกรรมดังนี้
             มีคุณธรรมจริยธรรม
             รู้จักการใช้การสังเกตและร่วมแสดงความคิดเห็น
             มีทักษะกระบวนการคิดพื้นฐาน
             มีสมาธิในการฟัง
             มีการกล้าแสดงออก
             มีมารยาทในการฟัง  การพูด
             มีความสามารถในการสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัว

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

โครงการเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ครูทุกคนมีข้อมูลต่างๆของนักเรียนทุกคนที่จะใช้ในการวางแผนจัดการในชั้นเรียนของตนเองได้ถูกต้อง

ผู้ปกครองนักเรียนมีความเชื่อมั่นต่อคุณภาพในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเพิ่มขึ้น
 

 โรงเรียนมีข้อมูลนักเรียนในการวางแผนพัฒนาและแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็น

 โรงเรียนมีข้อมูลที่จะนำเสนอให้หน่วยงานอื่นได้นำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น

การเคลื่อนไหว : เด็กปฐมวัยและการเล่น

        การเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย   มผลต่อกระบวนการพัฒนาด้านร่างกายซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบโครงสร้างของร่างกาย ตั้งแต่กล้ามเนี้อใหญ่ และกล้ามเนื้อเล็ก สมองของเด็กในวัยนี้เป็นช่วงที่พัฒนาทักษะด้านการเคลื่อนไหวที่ดีที่สุด เด็กต้องได้รับการพัฒนาความสามารถในการใช้ตา  มือ ขา   เท้า และประสาทรับความรู้สึกต่างๆ ให้สัมพันธ์กัน 

 ดังนั้นการเล่นในเด็กปฐมวัยจึงมีความจำเป็น  เด็กเล็กๆต้องจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการเล่นให้เหมาะสมกับวัยและจัดอย่างต่อเนื่อง การเล่นมึคุณค่าหลายประการ
เช่น 
                การเล่นช่วยระบายความเครียด ทำให้เด็กคลายความกังวล
                การเล่นช่วยพัฒนาการเรียนรู้
                การเล่นช่วยพัฒนาการรับรู้
                การเล่นช่วยพัฒนาการด้านร่างกาย การเคลื่อนไหว
                การเล่นเป็นการเตรียมสมองให้พร้อมในการใช้งาน
                               ฯลฯ

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความรู้เรื่องสมอง : เด็กปฐมวัย

การจะพัฒนาเด็กปฐมวัยในเรื่องสมอง ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสมองไม่มากก็น้อย ความรู้ดังกล่าวที่ควรรู้และตระหนักมีคังนี้

-สมองในเด็กปฐมวัย ส่วนที่พัฒนาอย่างรวดเร็วคือสมอง ส่วนเคลื่อนไหวและส่วนของสัมผัส
-หลักสูตร และกระบวนการพัฒนาสมองที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยมีความสำคัญ
-สมองพัฒนาตามระยะพัฒนาการ
-สมองแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
-สมองของแต่ละคนมีการเรียนรู้ได้
-สมองจะพัฒนาเต็มตามศักยภาพเมื่อผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามหลักการและกระบวนการเรียนรู้ที่ออกแบบในแนวทางที่เข้าใจถึงพัฒนาการของสมองตามวัย

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ในเด็กปฐมวัย

            

ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง มีความสำคัญในการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนั้นการสร้างบรรยากาศ การอบรมเลี้ยงดู การเป็นผู้จัดการ  เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ในเด็กปฐมวัย แล้วจะเสริมสร้างได้อย่างไร  สิ่งที่น่าจะพิจารณามีดังนี้
 
           1. ให้ความรักความอบอุ่นกับเด็กอย่างจริงใจ เลี้ยงดูด้วยความรักและความเอาใจใส่
           2. ฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเอง  โดยให้เด็กได้มีประสบการณ์ และให้เวลากับเด็ก
           3. ฝึกเด็กให้เป็นคนช่างสังเกต สำหรับเด็กเล็กๆ การใช้ประสาทสัมผัสมีความจำเป็น
 ที่ผู้ใหญ่จะต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ใช้สิ่งดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง   เด็กต้องการเวลาในการฝึกหัด   ผู้ใหญ่ต้องมีความใจเย็นในการให้เด็กได้ปฎิบัติกิจกรรมต่างๆ
           4. ฝึกให้เด็กได้รู้จักความรับผิดชอบ ทั้งตัวเองและผู้อื่น
           5. ฝึกให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านหนังสือ
           6. สร้างความมีวินัยให้กับเด็ก  ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
           7.ช่วยเหลือและส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักการพูดคุยและเล่าประสบการณ์ต่างๆ  โดยการไม่คาดหวังในตัวเด็กมากเกินไป

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กิจกรรมเล่นที่ส่งเสริมให้เด็กได้สำรวจ

กิจกรรมที่ควรส่งเสริมให้เด็กได้สำรวจ  ได้แก่

       * การประกอบภาพตัดต่อ
       * ปั้น
       * การนำชิ้นส่วนมารวมกัน
       * การระบายสีด้วยเทียน
       * การโรย
       * การร้อยเชือก
       * การประกอบชิ้นส่วน
       * การบีบ
       * การระบายสีด้วยนิ้วมือ
       * การร้อย

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การจัดกิจกรรมประกอบอาหารในเด็กปฐมวัย

          กิจกรรมประกอบอาหาร  เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ได้คิด ได้ลงมือปฎิบัติการทดลองประกอบอาหารจากของจริงในหลายรูปแบบ ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆในการเรียนรู้  เรียนรู้กระบวนการทำงาน  การทำงานร่วมกับผู้อื่น   มีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สามารถปฎิบัติกิจกรรมได้ด้วยตนเอง จุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมประกอบอาหารสามารถกล่าวได้ดังนี้

          1. สร้างทัศนคติที่ดีในการประกอบอาหาร
          2. สนุกสนาน ปลูกฝังการรักการทำงาน
          3. ส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา
          4. ได้สังเกตกระบวนการเปลี่ยนต่างๆ ขณะประกอบอาหา 
          5. ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า  ได้แก่ การสังเกต  การชิมรส  การดมกลิ่น  การฟังเสียงที่เกิดขึ้น   การสัมผัส
         6. เพิ่มทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
         7. รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม  

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การประเมินความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย :การสังเกตพฤติกรรม

         วิธีประเมินความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัยมีหลายวิธึ  วิธีหนึ่งที่นิยมใช้คือการสังเกตพฤติกรรมซึ่งเหมาะสมสำหรับเด็ก การสังเกตนั้นสิ่งที่ควรคำนึงคือ


          - ควรสังเกตพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกในกิจกรรมต่างๆ  ไม่ควรจัดเป็นกิจกรรมการวัดและประเมินเฉพาะ

          - ต้องเข้าใจจุดมุ่งหมายของการสังเกตว่า ต้องการสังเกตเพื่อวัดและประเมินความคิดสร้างสรรค์และต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์

          - ควรเป็นผู้ที่รู้จักเด็กหรือเป็นผู้ที่ใกล้ชิดเด็กปฐมวัยเป็นอย่างดีและการสังเกตควรกระทำโดยไม่ให้เด็กที่ถูกสังเกตรู้ตัว เพื่อผู้สังเกตจะได้มองเห็นพฤติกรรมที่แท้จริงของเด็ก
        
          - บันทึกเฉพาะพฤติกรรมที่เห็นและได้ยิน โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป ใช้ภาษาที่กระชับ ได้ใจความ ไม่คลุมเครือ เยิ่นเย้อ  อย่าพยายามแปลความหมายพฤติกรรมของเด็กปฐมวัย  ให้บันทึกเฉพาะการแสดงออก หรือพฤติกรรมที่มองเห็น และได้ยินเท่านั้น  การแปลความ การตัดสิน และการแสดงความคิดเห็นของผู้สังเกตและการบันทึก ให้ทำลงในบันทึกภายหลัง โดยแยกส่วนไว้ ไม่ให้ปะปนกับพฤติกรรมที่สังเกต



วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เด็กปฐมวัยกับการส่งเสริมความคิดเชิงเหตุผล

การส่งเสริมความคิดเชิงเหตุผลในเด็กปฐมวัยมีดังนี้
  
        - คำนึงถึงพัฒนาการและความสนใจของเด็ก
            
        - จัดสภาพแวดล้อมและกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กได้คิดอยู่เสมอ รวมทั้งให้เด็กได้ค้นคว้าจากประสบการณ์ตรง

        - ใช้คำถามกระตุ้นให้เกิดการคิด การเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาเมื่อเด็กมีปัญหา

        - จัดสื่อ อุปกรณ์  ของเล่นประเภทต่างๆ ที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดการคิดหรือดัดแปลงได้

        - จัดประสบการณ์ที่เน้นการสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ การสื่อสาร การสรุป การถ่ายโยง   โดยให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ข้อเสนอแนะ : การจัดกิจกรรมทางศิลปะ

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมศิลปะ

       1. ชื่นชมในผลงานและความก้าวหน้าของเด็ก
       2. วางแผนและเตรียมกิจกรรมต่างๆ สำหรับเด็กๆไว้ให้พร้อม
       3. เน้นกระบวนการทำงานของเด็กมากกว่าคำนึงถึงผลงานที่เด็กทำ
       4. สนับสนุนการแสดงออกทางด้านความคิดสร้างสรรค์โดยหลีกเลี่ยวการลอกเลียนแบบ
       5. ให้เด็กมีอิสรภาพในความคิดมากกว่าวาดภาพ ระบายสีจากภาพในสมุด
       6. อธิบายให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายและ แนวทางในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะแก่เด็ก
       7. ให้ความรู้ในด้านศิลปะ เช่น เรื่องสี ขนาด และรูปร่างแก่เด็ก
       8. ให้คิดว่ากิจกรรมทางด้านศิลปะมีความสำคัญเช่นเดียวกันกับการจัดประสบการณ์ในการเขียนและการอ่าน

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กิจกรรมต่อเนื่องจากการเล่านิทาน

       กิจกรรมต่อจากการเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย  มีดังนี้

1. การแสดงละคร
            ให้เด็กแสดงบทบาทสมมุติตามเรื่องราวของนิทานที่ได้ฟังมาแล้ว
            ให้เด็กแสดงบทบาทสมมุติเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งในนิทาน
            ให้เด็กแสดงใบ้ฉากสั้นๆ
            ให้เด็กแสดงละครพูด

2.กิจกรรมภาษา
            ตั้งชื่อเรื่องนิทานที่ฟัง
            ร้องเพลงเกี่ยวกับตัวละคร
            ถาม-ตอบ-ทายปัญหาจากเรื่องที่ฟัง
            อภิปรายเกี่ยวกับบทบาทของตัวละครในนิทาน
            ให้เด็กแต่งนิทานต่อเนื่องจากเรื่องเดิมที่ฟัง
            การเขียนจดหมายถึงตัวละคร
3.กิจกรรมศิลปะ
            วาดภาพ  ระบายสี
            ต่อเติมภาพตัวละครให้สมบูรณ์
            ปั้น ฉีก  ปะตัว ละคร
            วาดภาพตอนที่ประทับใจที่สุด
            

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เกมการศึกษา( Didactic Game )

       เกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย  เป็นกิจกรรมการเล่นที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาด้านสติปัญญา  เป็นการเล่นที่ช่วยให้ผู้เล่นเป็นผู้มีความสังเกตดี  ช่วยให้มองเห็นได้ ได้ฟัง หรือคิดอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกมการศึกษาจะต่างจากของเล่นอย่างอื่น แต่ละชุดจะมีวิธีเล่นโดยเฉพาะ อาจเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่ม ผู้เล่นสามารถตรวจสอบการเล่นว่าถูกต้องหรือไม่
       หรืออาจกล่าวว่าเกมการศึกษาหมายถึง เกมที่เน้นกิจกรรมการเล่นโดยมีครูและกติกาที่ช่วยพัฒนาความคิด เป็นพื้นฐานสำคัญของการเตรียมความพร้อมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน  มีจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้
       - เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเล่นเกมประเภทสองมิติ
       - เพื่อพัฒนาความสามารถที่จะอธิบายความแตกต่างของเกมในเรื่องสี รูปร่าง ขนาด
       - เพื่อพัฒนาความสามารถในกการบอกลักษณะของสิ่งของซึ่งอาจเป็นนามธรรม
       - เพื่อพัฒนาความสามารถในการจดจำคุณสมบัติ โดยนำมาวางในตาราง
       - ฝึกกการสังเกตและจำแนกด้วยสายตา
       - ฝึกการคิดหาเหตุผล
       - ฝึกการตัดสินใจ
                                                        ฯลฯ

วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

กิจกรรมสร้างสรรค์หรือกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อ

- ให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเครียด
- ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา
- ส่งเสริมและพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมือ
- ส่งเสริมและพัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
- ฝึกทักษะการสังเกต การคิด และการแก้ปัญหา
- ส่งเสริมการทำงาน และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ส่งเสริมคุณธรรม เช่น  ความรรับผิดชอบ ความมีวินัยในตนเอง การรอคอย

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

รูปแบบการเล่านิทาน
                      ขอเสนอแนะรูปแบบการเล่านิทานสำหรับครูปฐมวัยดังนี้

            1.  การแสดงบทบาทสมมุติ
            2.  การอ่านจากหนังสือนิทาน
            3.  การใส่หน้ากาก หรือแสดงตัวเป็นละครในเรื่อง 
            4.  การเล่าโดยใช้เสียงประกอบหรือมีเสียงดนตรีประกอบ่การเล่านิทาน
            5.  การเล่าโดยการเล่นนิ้วมือ
            6.  การเล่านิทานประกอบหุ่นต่างๆ
            7.  การเล่านิทานฑโดยใช้เทปนิทาน
        
                     นอกจากนั้นผู้เล่านิทานยังต้องสร้างบรรยากาศการเล่านิทานที่เหมาะสมด้วย  เช่น  การใช้อารมณ์ในการเล่านิทาน  การใช้น้ำเสียง  การให้ความสนใจกับเด็กทุกคน  เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย



กิจกรรมสร้างสรรค์ในเด็กปฐมวัย คือ กิจกรรมศิลปะนั่นเอง ในการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์
ที่มีประสิทธิภาพ ครูต้องมีความรู้ความเข้าใจและครูต้องเตรียมกิจกรรม เช่น วางแผนเตรียม
กิจกรรมต่างๆ สำหรับเด็กให้พร้อม ฝึกฝนให้เด็กได้ลองกระทำด้วยตนเอง สร้างเสริม
ทัศนคติที่ดีต่อศิลปะ สร้างเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปะ และบูรณาการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ
การปฎิบัติ สำหรับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์มีหลายประเภท เช่น การวาด การพิมพ์
การประดิษฐ์ การปั้น เป็นต้น



กิจกรรมสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจ ค้นพบ และได้ทดลอง กับสื่อ อุปกรณ์ทางศิลปะสร้างสรรค์ ครูควรบอกหรือแนะนำเพี่ยงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ให้เด็กค้นพบด้วยตนเอง ในการทำงานศิลปะ จากอุปกรณ์ที่หลากหลายที่ครูได้จัดเตรียมไว้ แล่ะทำให้เด็กได้รู้สึกอิสระ และมีความรู้สึกพอใจ
..

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แจ้งชื่อblog




แจ้งชื่อBlog ที่กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 1 ให้ศึกษานิเทศก์ใช้เข้าเขียนบทความได้ที่ http://superrb1.blogspot.com/ ได้เลย