วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ผู้บริหารโรงเรียนกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

                         ผู้บริหารโรงเรียนเป็นบุคคลสำคัญในการเป็นผู้นำในด้านต่่างๆ โดยเฉพาะด้านวิชาการจะเห็นว่าการนำหลักสูตรไปใช้ได้ประสบความสำเร็จ ผู้บริหารเป็นตัวจักรสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาและการใช้หลักสูตรสถานศึกษา เพราะเป็นผู้ที่กระตุ้นให้บุคลากรในโรงเรียนและที่สำคัญคือครูได้ดำเนินการอย่างเต็มความสามารถ ส่งเสริมการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำ จัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายของหลักสูตร ออกแบบกิจกรรมอย่างหลากหลาย จัดทำและใช้สื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับผู้เรียน ตลอดจนวัดประเมินผลตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามความต้องการ หากผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตร ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรให้จัดการเรียนรู้ดังที่กล่าว พร้อมกับร่วมมือกับบุคลากรในโรงเรียนจะทำให้การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาได้ประสบความสำเร็จส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับเด็กประถมศึกษา

                               ในศตวรรษที่ 21 นี้การให้เด็กในระดับประถมศึกษามีทักษะชีวิตเพื่อการดำเนินชีวิตทั้งปัจจุบันและในอนาคตที่โลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานี้ ครูเป็นบุคคลสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยกันพัฒนาให้เด็กมีทักษะดังกล่าว เช่น การรู้จักตนเอง ความรับผิดชอบในหน้าที่ ความสามารถในการปรับตัว มองตนเองและผู้อื่นในแง่บวก จัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะการสื่อสาร มีความกระตือรือร้น มีความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นต้น ทักษะชีวิตนี้ครูผู้สอนสามารถพัฒนาให้เกิดกับเด็กได้โดยการบูรณาการจัดการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติกิจกรรม มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ มีการนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันทั้งอยู่ที่บ้านหรือโรงเรียน จนกระทั่งเด็กสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ สิ่งที่กล่าวครูผู้สอนจำเป็นต้องเตรียมวางแผนการจัดการเรียนรู้ ออกแบบกิจกรรม ฯลฯ ให้เด็กได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และกำหนดจุดประสงค์และเป้าหมายให้ชัดเจน สุดท้่ายจะต้องวัดประเมินผลจากการที่ให้เด็กได้ปฏิบัติจริงๆ

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การเตรียมบุคลากรสู่ประชาคมอาเซียน

                การที่จะก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 นั้นบุคลากรมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การเตรียมบุคลากรหรือการเตรียมคนเป็นภาระสำคัญและเป็นสิ่งที่จะปฏิเสธไม่ได้เลย การสร้างอาเซียนให้มีการพัฒนาและทันต่อความก้าวหน้าและความเปลี่ยนแปลงของโลก ทุกประเทศในอาเซียนจะต้องก้าวไปพร้อมกัน สำหรับประเทศไทยการพัฒนาคนไทยให้มีความพร้อม การศึกษาเป็นหลักสำคัญ การศึกษาต้องมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งด้านการสร้าง การพัฒนา ตลอดจนการส่งเสริมสนับสนุนเด็กของเราให้มีคุณลักษณะขั้นพื้นฐานที่ทุกคนด้องมีให้ได้ เช่น ความรักในความเป็นไทย การมีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์ ความอดทนอดกลั้น ความขยัน การเคารพกฎหมาย เป็นต้น ส่วนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นภาษากลางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างชาติในอาเซียน การกรอกแบบฟอร์มต่างๆ การกรอกใบสมัครในการทำงาน การอบรม ประชุมสัมมนา หนังสือสัญญาต่างๆ เป็นต้น
กิจกรรมหรือการดำเนินงานที่กล่าวข้างต้นจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษ ดังนั้นเด็กไทยต้องได้รับการฝึกทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษทัังการฟัง พูด อ่านและเขียนให้มีความสามารถในการสือสารให้ได้และอย่างมีคุณภาพ นอกจากนั้นการให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาอาเซียนอื่นๆยังมีความสำคัญกับเด็กของเราด้วย จึงเป็นหน้าที่และภาระสำคัญของครูที่ต้องพัฒนาตนเองและร่่วมกันพัฒนาเด็กไทยให้มีความสามารถที่จะอยู่และใช้ชีวิตในประชาคมอาเซียนได้อย่างมีความสุข

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมเด็กไทยสู่ประชาคมอาเซียน

               การเตรียมเด็กคนไทยสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2015 เป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ทุกคนต้องเตรียมความพร้อมให้กับตนเอง และจะต้องเตรียมเด็กของเราให้มีความพร้อมในหลายๆเรื่องโดยเฉพาะครูผู้สอนแล้วจะเตรียมเด็กอย่างไร ประการแรกเด็กควรหรือต้องมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรฯที่กำหนดไว้ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญสำหรับเด็กไทยทุกคน ที่จะขาดเสียไม่ได้คือความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาอาเซียน ถ้าประเทศเราเข้าสู่ประชาคมอาเซียนความสามารถในการใช้ภาษาดังกล่าวมีความจำเป็น และเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถปฏิเสธได้ ครูจำเป็นต้องช่วยกันทำให้เด็กสามารถใช้ภาษาสื่อสารได้อย่างจริงจังไม่ใช่การเรียนการสอนที่เป็นเพียงแต่การได้คะแนนแล้วผ่านไปโดยไม่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ประการต่อมาเด็กจะต้องเข้าใจถึงแนวความคิดหลักๆที่มีอยู่ในโลกนี้ เช่น ความหลากหลาย สิทธิมนุษยชน การพึ่งพาอาศัยกัน ปัญหาความขัดแย้ง การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นต้น และที่สำคัญภูมิคุ้มกันสำหรับเด็กไทยที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เช่น ความคิดสร้างสรรค์ การติดต่อกันในสังคมออนไลน์ ความเป็นมนุษย์ การอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา เป็นต้น สิ่งที่กล่าวเหล่านี้เป็นสิ่งที่ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทุกคนต้องร่วมมือกันเตรียมเด็กทุกคนให้มีความพร้อมก่อนที่เราจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

ตัวชี้วัดคุณภาพผู้บริหาร:การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

                ประเทศไทยในฐานะสมาชิกอาเซียนซึ่งทุกคนตระหนักแล้วว่าในปีพ.ศ. 2558 ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศจะต้องเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน สำหรับด้านการศึกษาผู้มีบทบาทสำคัญต่อการบริหารหรือการดำเนินงานการศึกษาให้มีคุณภาพนั้น คือผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้อำนวยการโรงเรียน ตัวชี้วัดคุณภาพของผู้บริหารที่จะทำให้ประสบความสำเร็จมีดังนี้
               - มีวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
               - มีความสามารถในการบริหารจัดการภายใต้สภาวการณ์จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
               - มีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และทักษะในการใช้ ICT
               - มึความสามารถในการประสานสามัคคีเครือข่ายความร่วมมือการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
               - มีความสามารถในการนิเทศ ติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน
               ดังนั้น ผู้บริหารทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องมีความพร้อมและปฏิบัติให้มุ่งสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เตรียมตัวสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียน

             ขณะนี้โรงเรียนต่างๆอย่างเช่่่นโรงเรียนในสพป.รบ. 1 ได้มีการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนเพื่อการเตรียมตัวไปสู่ประชาคมอาเซียนในหลายๆด้าน เพื่อจะได้รองรับการเปลี่ยนแปลงที่คาดเดาว่าจะต้องเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องทักษะการใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษากลางในการใช้ติดต่อสื่อสารในระหว่างประเทศสมาชิก ทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษจึงมีความจำเป็นสำหรับนักเรียน


ที่จะต้องเร่งส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กเห็นความจำเป็นและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ โดยครูผู้สอนได้เริ่มสร้างความตระหนักในความจำเป็นและความสำคัญของภาษาอังกฤษ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนเกิดความสนุกสนานพร้อมกับฝึกทักษะต่างๆไปพร้อมกัน ซึ่งอยู่ที่ความสามารถของครูในการวิเคราะห์ที่จะทำให้นักเรียนมีทักษะด้านฟัง พูด อ่าน หรือเขียน และจะต้องออกแบบกิจกรรมให้มีความยากหรือง่ายตามระดับอายุุของนักเรียน โดยมีศูนย์เครือข่ายต่างๆได้จัดกิจกรรมการอบรมครูทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา นอกจากความสำคัญของภาษาแล้วยังส่งเสริมให้ครูได้ให้ความสำคัญกับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็กตั้งแต่ปฐมวัย ประถม และมัธยม อย่างเช่นการให้ผู้เรียนมีระเบ่ียบวินัย การเคารพกฎหมาย ความขยันหมั่นเพียร ความอดทนอดกลั้น ความซี่อสัตย์  ความเป็นไทย เป็นต้น การเตรียมพร้อมดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมกันจากบุคลากรหลายฝ่ายทั้งผู้บริหาร ครู พ่อแม่ ผู้ปกครองและชุมชน  

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน

              ปัจจุบันโรงเรียนทุกโรงเรียนต้องเตรียมพร้อมที่จะไปสู่ประชาคมอาเซียนในปีพ.ศ. 2558 สำหรับโรงเรียนต่างๆที่จะดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียนนั้น สามารถจัดทำโครงสร้างหลักสูตรของโรงเรียนได้ใน 3 ลักษณะคือ
              - จัดทำรายวิชาพื้นฐานที่บูรณาการอาเซียน
              - จัดทำรายวิชาเพิ่มเติมที่เน้นอาเซียน
              - จัดทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่เน้นอาเซียน
              สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงคือ
ด้านองค์ความรู้
              - ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน - ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียน
              - วิถีชีวิต/พหุวัฒนธรรม - ประชาคมอาเซียน กฏบัตรอาเซียน ปฎิญญาอาเซียน
              - ประเด็นสำคัญ เช่น พลเมือง สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย ประวัติศาสตร์เชิงบวก
                 สันติศึกษา สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฯลฯ
ทักษะ/กระบวนการ
              - การใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน - การใช้ ICT -การคำนวณ การให้เหตุผล
              - กระบวนการคิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ แก้ปัญหา
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เช่น มีทักษะชีวิต กล้าแสดงออก เอื้ออาทรและแบ่งปัน  เข้าใจตนเองและผู้อื่น ฯลฯ
              ดังนั้นทุกโรงเรียนสามารถดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียนได้จากแนวทางดังกล่าว