วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ในเด็กปฐมวัย

            

ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง มีความสำคัญในการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนั้นการสร้างบรรยากาศ การอบรมเลี้ยงดู การเป็นผู้จัดการ  เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ในเด็กปฐมวัย แล้วจะเสริมสร้างได้อย่างไร  สิ่งที่น่าจะพิจารณามีดังนี้
 
           1. ให้ความรักความอบอุ่นกับเด็กอย่างจริงใจ เลี้ยงดูด้วยความรักและความเอาใจใส่
           2. ฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเอง  โดยให้เด็กได้มีประสบการณ์ และให้เวลากับเด็ก
           3. ฝึกเด็กให้เป็นคนช่างสังเกต สำหรับเด็กเล็กๆ การใช้ประสาทสัมผัสมีความจำเป็น
 ที่ผู้ใหญ่จะต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ใช้สิ่งดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง   เด็กต้องการเวลาในการฝึกหัด   ผู้ใหญ่ต้องมีความใจเย็นในการให้เด็กได้ปฎิบัติกิจกรรมต่างๆ
           4. ฝึกให้เด็กได้รู้จักความรับผิดชอบ ทั้งตัวเองและผู้อื่น
           5. ฝึกให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านหนังสือ
           6. สร้างความมีวินัยให้กับเด็ก  ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
           7.ช่วยเหลือและส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักการพูดคุยและเล่าประสบการณ์ต่างๆ  โดยการไม่คาดหวังในตัวเด็กมากเกินไป

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กิจกรรมเล่นที่ส่งเสริมให้เด็กได้สำรวจ

กิจกรรมที่ควรส่งเสริมให้เด็กได้สำรวจ  ได้แก่

       * การประกอบภาพตัดต่อ
       * ปั้น
       * การนำชิ้นส่วนมารวมกัน
       * การระบายสีด้วยเทียน
       * การโรย
       * การร้อยเชือก
       * การประกอบชิ้นส่วน
       * การบีบ
       * การระบายสีด้วยนิ้วมือ
       * การร้อย

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การจัดกิจกรรมประกอบอาหารในเด็กปฐมวัย

          กิจกรรมประกอบอาหาร  เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ได้คิด ได้ลงมือปฎิบัติการทดลองประกอบอาหารจากของจริงในหลายรูปแบบ ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆในการเรียนรู้  เรียนรู้กระบวนการทำงาน  การทำงานร่วมกับผู้อื่น   มีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สามารถปฎิบัติกิจกรรมได้ด้วยตนเอง จุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมประกอบอาหารสามารถกล่าวได้ดังนี้

          1. สร้างทัศนคติที่ดีในการประกอบอาหาร
          2. สนุกสนาน ปลูกฝังการรักการทำงาน
          3. ส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา
          4. ได้สังเกตกระบวนการเปลี่ยนต่างๆ ขณะประกอบอาหา 
          5. ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า  ได้แก่ การสังเกต  การชิมรส  การดมกลิ่น  การฟังเสียงที่เกิดขึ้น   การสัมผัส
         6. เพิ่มทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
         7. รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม  

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การประเมินความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย :การสังเกตพฤติกรรม

         วิธีประเมินความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัยมีหลายวิธึ  วิธีหนึ่งที่นิยมใช้คือการสังเกตพฤติกรรมซึ่งเหมาะสมสำหรับเด็ก การสังเกตนั้นสิ่งที่ควรคำนึงคือ


          - ควรสังเกตพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกในกิจกรรมต่างๆ  ไม่ควรจัดเป็นกิจกรรมการวัดและประเมินเฉพาะ

          - ต้องเข้าใจจุดมุ่งหมายของการสังเกตว่า ต้องการสังเกตเพื่อวัดและประเมินความคิดสร้างสรรค์และต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์

          - ควรเป็นผู้ที่รู้จักเด็กหรือเป็นผู้ที่ใกล้ชิดเด็กปฐมวัยเป็นอย่างดีและการสังเกตควรกระทำโดยไม่ให้เด็กที่ถูกสังเกตรู้ตัว เพื่อผู้สังเกตจะได้มองเห็นพฤติกรรมที่แท้จริงของเด็ก
        
          - บันทึกเฉพาะพฤติกรรมที่เห็นและได้ยิน โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป ใช้ภาษาที่กระชับ ได้ใจความ ไม่คลุมเครือ เยิ่นเย้อ  อย่าพยายามแปลความหมายพฤติกรรมของเด็กปฐมวัย  ให้บันทึกเฉพาะการแสดงออก หรือพฤติกรรมที่มองเห็น และได้ยินเท่านั้น  การแปลความ การตัดสิน และการแสดงความคิดเห็นของผู้สังเกตและการบันทึก ให้ทำลงในบันทึกภายหลัง โดยแยกส่วนไว้ ไม่ให้ปะปนกับพฤติกรรมที่สังเกต



วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เด็กปฐมวัยกับการส่งเสริมความคิดเชิงเหตุผล

การส่งเสริมความคิดเชิงเหตุผลในเด็กปฐมวัยมีดังนี้
  
        - คำนึงถึงพัฒนาการและความสนใจของเด็ก
            
        - จัดสภาพแวดล้อมและกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กได้คิดอยู่เสมอ รวมทั้งให้เด็กได้ค้นคว้าจากประสบการณ์ตรง

        - ใช้คำถามกระตุ้นให้เกิดการคิด การเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาเมื่อเด็กมีปัญหา

        - จัดสื่อ อุปกรณ์  ของเล่นประเภทต่างๆ ที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดการคิดหรือดัดแปลงได้

        - จัดประสบการณ์ที่เน้นการสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ การสื่อสาร การสรุป การถ่ายโยง   โดยให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ข้อเสนอแนะ : การจัดกิจกรรมทางศิลปะ

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมศิลปะ

       1. ชื่นชมในผลงานและความก้าวหน้าของเด็ก
       2. วางแผนและเตรียมกิจกรรมต่างๆ สำหรับเด็กๆไว้ให้พร้อม
       3. เน้นกระบวนการทำงานของเด็กมากกว่าคำนึงถึงผลงานที่เด็กทำ
       4. สนับสนุนการแสดงออกทางด้านความคิดสร้างสรรค์โดยหลีกเลี่ยวการลอกเลียนแบบ
       5. ให้เด็กมีอิสรภาพในความคิดมากกว่าวาดภาพ ระบายสีจากภาพในสมุด
       6. อธิบายให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายและ แนวทางในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะแก่เด็ก
       7. ให้ความรู้ในด้านศิลปะ เช่น เรื่องสี ขนาด และรูปร่างแก่เด็ก
       8. ให้คิดว่ากิจกรรมทางด้านศิลปะมีความสำคัญเช่นเดียวกันกับการจัดประสบการณ์ในการเขียนและการอ่าน

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กิจกรรมต่อเนื่องจากการเล่านิทาน

       กิจกรรมต่อจากการเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย  มีดังนี้

1. การแสดงละคร
            ให้เด็กแสดงบทบาทสมมุติตามเรื่องราวของนิทานที่ได้ฟังมาแล้ว
            ให้เด็กแสดงบทบาทสมมุติเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งในนิทาน
            ให้เด็กแสดงใบ้ฉากสั้นๆ
            ให้เด็กแสดงละครพูด

2.กิจกรรมภาษา
            ตั้งชื่อเรื่องนิทานที่ฟัง
            ร้องเพลงเกี่ยวกับตัวละคร
            ถาม-ตอบ-ทายปัญหาจากเรื่องที่ฟัง
            อภิปรายเกี่ยวกับบทบาทของตัวละครในนิทาน
            ให้เด็กแต่งนิทานต่อเนื่องจากเรื่องเดิมที่ฟัง
            การเขียนจดหมายถึงตัวละคร
3.กิจกรรมศิลปะ
            วาดภาพ  ระบายสี
            ต่อเติมภาพตัวละครให้สมบูรณ์
            ปั้น ฉีก  ปะตัว ละคร
            วาดภาพตอนที่ประทับใจที่สุด
            

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เกมการศึกษา( Didactic Game )

       เกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย  เป็นกิจกรรมการเล่นที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาด้านสติปัญญา  เป็นการเล่นที่ช่วยให้ผู้เล่นเป็นผู้มีความสังเกตดี  ช่วยให้มองเห็นได้ ได้ฟัง หรือคิดอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกมการศึกษาจะต่างจากของเล่นอย่างอื่น แต่ละชุดจะมีวิธีเล่นโดยเฉพาะ อาจเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่ม ผู้เล่นสามารถตรวจสอบการเล่นว่าถูกต้องหรือไม่
       หรืออาจกล่าวว่าเกมการศึกษาหมายถึง เกมที่เน้นกิจกรรมการเล่นโดยมีครูและกติกาที่ช่วยพัฒนาความคิด เป็นพื้นฐานสำคัญของการเตรียมความพร้อมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน  มีจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้
       - เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเล่นเกมประเภทสองมิติ
       - เพื่อพัฒนาความสามารถที่จะอธิบายความแตกต่างของเกมในเรื่องสี รูปร่าง ขนาด
       - เพื่อพัฒนาความสามารถในกการบอกลักษณะของสิ่งของซึ่งอาจเป็นนามธรรม
       - เพื่อพัฒนาความสามารถในการจดจำคุณสมบัติ โดยนำมาวางในตาราง
       - ฝึกกการสังเกตและจำแนกด้วยสายตา
       - ฝึกการคิดหาเหตุผล
       - ฝึกการตัดสินใจ
                                                        ฯลฯ