วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ข้อคิดเรื่องการอ่าน เขียนส่งเสริมคุณภาพเด็กไทย

       เราจะทำให้เด็กไทยรักการอ่าน เขียน ได้อย่างไร คงเป็นภาระหน้าที่ของพวกเรา  ที่สอนเด็ก
ตั้งแต่ระดับปฐมวัย  ประถม ตลอดจนถึงในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งแต่ระดับมีเทคนิคและวิธีการที่
แตกต่างกัน   จะขอกล่าวถึงประเทศเกาหลีใต้ที่กำลังก้าวไกลด้วยการพัฒนาเด็กด้วยพลังการอ่าน
เขียน  ผู้อำนวยการสถาบันการแปลวรรณกรรมเกาหลี  กล่าวว่า วัฒนธรรมการอ่านของเกาหลีใต้
เข้มแข็งมาก เพราะเชื่อว่าการอ่านย่อมส่งผลถึงสติปัญญา ซึ่งสติปัญญาคือพลังในการพัฒนา
ประเทศ  สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้อย่างชัดเจนคือ  คนเกาหลีใต้ใช้ทุกช่วงเวลาว่างอ่านหนังสือ จะนั่ง
ในรถไฟฟ้า  ร้านกาแฟ  ป้ายรถเมล์ แทบทุกคนจะพกหนังสืออยู่ในมือ  ยิ่งถ้าเป็นร้านหนังสือใหญ่ๆ
 จะเห็นแต่ละคนคล้องตะกร้าใบใหญ่ไว้ที่แขนและเลือกซื้อหนังสือราวกับซื้อของในซุปเปอร์มาเก็ต
ส่วนการสอบเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย  จะบังคับให้เด็กอ่านวรรณกรรมหนักๆ  ทั้งของต่าง
ประเทศและในประเทศเป็นหนังสือนอกเวลาตั้งแต่เด็ก  แล้วถ้าอยากเข้าเรียนต่อไม่ว่าจะคณะไหน
ก็ตามในมหาวิทยาลัยดีๆ ดังๆ นอกจากตำราเรียนแล้ว  ต้องขยันอ่านวรรณกรรมทั้งร้อยแก้ว  และ
บทกวีด้วย โดยกระทรวงศึกษาธิการ จะมีรายชื่อหนังสือที่ต้องอ่านมาให้ 5 เล่ม เพราะในการสอบ
เข้าจะมีการเขียนเรียงความในหัวข้อวิจารณ์วรรณกรรม  1 ใน 5 เล่มนั้น  ฉะนั้นการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนของเรา   ควรจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายอย่างชัดเจนให้เด็กของเรามีพฤติกรรมการ
รักการอ่านซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพการเรียนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น