วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

อบรมพ่อแม่ผู้ปกครองกับครูชีวัน วิสาสะ

                   ครูชีวัน  วิสาสะ  ผู้มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับหนังสือเด็ก  ทั้งการแต่งหนังสือนิทาน การทำสื่อ
ประกอบการเล่านิทาน  ได้มาอบรมพ่อแม่ ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยในเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 และเขต 2 จำนวน 200 คน  ณ  โรงเรียนอนุบาลราชบุรี   เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน  2553 ครูชีวันได้นำเสนอกิจกรรมที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก  เสนอแนะการทำสื่อประกอบการเล่านิทานอย่างง่ายๆ  แต่มีคุณค่าและมีประโยชน์   โดยทีมงานนิตยสาร   Mother & Care ได้เตรียมอุปกรณ์   มาให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนได้ร่วมทำสื่อ    เช่น  หนังสือนิทานเล่าเรื่อง  ตา ยายปลูกถั่ว ปลูกงาให้หลานเฝ้าซึ่งเป็นเรื่องแต่ดั้งเดิมแต่ยังมีคุณค่าอยู่     การสาธิตการพับอุปกรณ์ ตัวละคร  สัตว์  ในนิทาน  ที่เล่าให้เด็กฟัง    กิจกรรมต่างๆ ทำให้พ่อ  แม่  ผู้ปกครองประทับใจ   ได้เกิดความตระหนักในการร่วมมือกันส่งเสริมการรักการอ่านโดยการเล่านิทานให้กับเด็กปฐมวัยได้ฟังตั้งแต่ยังเล็กอยู่     การอบรมดังกล่าวถือว่ามีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง  ควรที่จะให้ผู้ที่พ่อ แม่  ผู้ปกครองทุกคนได้ตระหนัก และนำไปปฏิบัติกับลูกหลานของเราให้ได้

อ่าน เล่น เรียนรู้ ตามสมรรถนะเด็กไทย

          เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2553  ที่โรงเรียนอนุบาลราชบุรี มีการอบรมครูปฐมวัย ของสพท. รบ. 1
 และ 2   จำนวน  200  คน  โดยสภาการศึกษา    มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก     T. K.PARK   และนิตยสาร  Mother& Careได้ร่วมมือกันเพื่อพัฒนาเด็กไทยตามสมรรถนะที่สภาการศึกษาได้ทำการวิจัยไว้     จึงจัดอบรมครูเพื่อจัดกิจกรรมอ่าน เล่น ให้เด็กไทยมีสมรรถนะด้านต่างๆ    มีรศ. ดร.จิตตินันท์  เดชะคุปต์
แห่งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  เป็นวิทยากรให้การอบรม  พร้อมคณะทีมงานที่มีคุณสรวงมนฑ์
สิทธิสมาน  บรรณาธิการบริหารนิตยสาร Mother & Care เป็นหัวหน้าทีมงาน     การอบรมที่จังหวัด
ราชบุรีเป็นจุดแรกของการอบรม    ส่วนจุดอื่นๆของประเทศไทยก็จะไปที่ เชียงราย   อุบลราชธานี
นครสวรรค์ และสุราษฎ์ธานี    การอบรมทำให้ได้ประโยชน์หลายอย่าง  ในด้านความรู้เกี่ยวกับการ
อบรมเลี้ยงดูแล้วส่งผลให้ครูมีความมั่นใจต่อการเตรียมความพร้อมให้เด็กพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม
ได้เห็นความสำคัญและประโยชน์อย่างมหาศาลของการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง   การเล่านิทานให้
เด็กตั้งแต่เล็กๆ    เป็นต้น   ถือว่าเป็นก้าวหนึ่งที่ทำให้กับเด็กปฐมวัยได้พัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
ในอนาคต

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมศูนย์อาเซียนศึกษา : โรงเรียนสวนผึ้งวิทยา

         ขณะนี้โรงเรียนสวนผึ้งวิทยา ได้ดำเนินกิจกรรมศูนย์อาเซียนศึกษาไปได้หลายกิจกรรมแล้ว
อย่างการเรียนการสอนในทุกชั้นเรียน   โดยการจัดรายวิชาเพิ่มเติมเรื่องอาเซียนศึกษา  การบูรณา
การอาเซียนศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
เป็นต้น  กิจกรรมที่เด็กมีความสนใจคือ มีการสอนภาษาต่างประเทศที่สามคือ ภาษาพม่า ให้กับ
นักเรียน  ซึ่งทางโรงเรียนได้รับการจัดสรรงบประมาณในการจ้างครูมาสอนให้กับเด็ก   สำหรับ
ต้นเดือนที่ผ่านมา  วันที่ 10-12  มิถุนายน  2553  ณ  โรงแรมเอเซีย  แอร์พอร์ต  ปทุมธานี  ทางโรงเรียนได้เข้าร่วมประชุมสัมมนาในโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน  มีโรงเรียนเข้าร่วมประชุมทั้งหมด  54  โรงเรียน   ได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ในกิจกรรมที่ได้ทำไปแล้ว  และได้แนวคิดที่จะทำต่อไป   โดยเฉพาะการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่นำเอาเรื่องอาเซียนศึกษาเข้าไปในหลักสูตร   การจัดทำโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับครู  นักเรียน  ชุมชน ทั้งของโรงเรียนเอง  และโรงเรียนเครือข่าย  ตลอดจนโรงเรียนทั่วไป

วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมของ Buffer School : โรงเรียนบ้านตะโกล่าง

              โรงเรียนบ้านตะโกล่าง  อำเภอสวนผึ้ง  ของจังหวัดราชบุรี  เป็นโรงเรียนที่ดำเนินการ
โครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน  กิจกรรม Buffer School  ขณะนี้มีกิจกรรมหลายอย่างที่น่าสนใจ
ในเรื่องเกี่ยวกับอาเซียนศึกษา  โดยเฉพาะการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน  ที่สอดคล้อง
กับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พ.ศ.2551  คือมีการทำรายวิชาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง
อาเซียนศึกษา มีการนำเรื่องอาเซียนศึกษาไปบูรณาการกับกลุ่มสาระต่างๆ   ตลอดจนนำไป
จัดทำในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน    สำหรับเรื่องอาเซียนศึกษาในปัจจุบันและในอนาคต  ประเทศไทย
จะต้องเข้าไปร่วมมือและเกี่ยวข้องกับอาเซียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้     เราจะต้องเตรียมเด็กไทยให้
พร้อมในเรื่องดังกล่าว  เมื่อวันที่ 10 -12  มิถุนายน 2553  ผู้อำนวยการโรงเรียน คือผอ.เฉลียว
เถื่อนเภา   พร้อมด้วยบุคลากรของโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับโครงการ รวม 3 คน  ได้ไปประชุมสัมมนา
ที่โรงแรมเอเซีย  แอร์พอร์ต  ปทุมธานี   มีกิจกรรมที่นำเสนอในที่ประชุมทั้งที่ทำไปแล้ว  และที่จะ
ทำต่อไป ได้แก่ กิจกรรมร่วมกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติพันธุ์อาเซียน (พม่า มอญ  กะเหรี่ยง)    
กิจกรรมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ไทย -พม่า   กิจกรรมค่ายลูกเสืออาเซียน   เป็นต้น   คาดว่าในปี  พ.ศ. 2553  นี้โรงเรียนบ้านตะโกล่างคงจะเป็นแหล่งการเรียนรู้หรือศูนย์อาเซียนศึกษาที่จะทำให้เด็กนักเรียน  ครู  ประชาชน  ทั้งของโรงเรียนบ้านตะโกล่างและโรงเรียนเครือข่าย  ตลอดจนโรงเรียนทั่วไปได้ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องอาเซียนศึกษาได้อย่างมีคุณค่า

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การประชุมสัมมนาชี้แจงการดำเนินงานโครงการพัฒนาประชาคมสู่อาเซียน

         ในวันที่ 10 - 12  มิถุนายน   2553   โรงเรียนในโครงการพัฒนาประชาคมสู่อาเซียน  ของสพท.รบ 1
ที่เป็นโรงเรียน Buffer School  คือโรงเรียนสวนผึ้งวิทยา  และโรงเรียนบ้านตะโกล่าง  ได้เข้าร่วมประชุม
สัมมนาโครงการดังกล่าว ที่โรงแรมเอเซีย  แอร์พอร์ต  รังสิต ปทุมธานี การประชุมสัมมนาครั้งนี้
มีที่ปรึกษาโครงการเข้าร่วมประชุมเป็นครั้งแรก  ที่ปรึกษาของโรงเรียนสวนผึ้งวิทยา    และโรงเรียน
บ้านตะโกล่าง  เป็นบุคคลที่มีคุณภาพและ อดีตเป็นข้าราชการ ของกระทรวงศึกษาธิการทั้งสองท่าน
โรงเรียนสวนผึ้งวิทยา คือ ผศ.  เทวี  สวรรยาธิปัติ   มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง  และโรงเรียน
บ้านตะโกล่างคือ อาจารย์สุวรรณา  ไชยวัฒนานนท์  ศึกษานิเทศก์  9 สำนักงานการประถมศึกษา
จังหวัดราชบุรี     ประเด็นสำคัญในเรื่องอาเซียนสำหรับการประชุมครั้งนี้คือ  การชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ
ของอาเซียนที่คนไทยจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ  การตระหนักในความสำคัญของอาเซียน   การปฏิบัติตน   ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในอาเซียน  สำหรับโรงเรียนในโครงการ ผลที่เกิดกับเด็ก 
ครู   ประชาชนในโรงเรียน  และโรงเรียนเครือข่าย   จะต้องแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร
           ก่อนอื่นต้องมีความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ดังนี้
                ความเข้าใจในเรื่องประชาคมอาเซียน  
                ยุทธศาสตร์ประเทศไทยในประชาคมอาเซียน
                อิทธิพลของกระแสโลกกระทบทั้งอาเซียนและประเทศไทย
                กระแสโลกาภิวัตน์
                เศรษฐกิจในอนาคต    สังคมโลกในอนาคต
                การรวมตัวของประเทศต่างๆ
                เป้าหมายของอาเซียน
                คุณลักษณะของเด็กไทย
                          ฯลฯ
          ประเด็นที่สำคัญที่จะต้องช่วยกันทำให้สำเร็จคือ  การพัฒนาการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน 
เป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันทำให้สำเร็จ             

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ข้อคิดเรื่องการอ่าน เขียนส่งเสริมคุณภาพเด็กไทย

       เราจะทำให้เด็กไทยรักการอ่าน เขียน ได้อย่างไร คงเป็นภาระหน้าที่ของพวกเรา  ที่สอนเด็ก
ตั้งแต่ระดับปฐมวัย  ประถม ตลอดจนถึงในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งแต่ระดับมีเทคนิคและวิธีการที่
แตกต่างกัน   จะขอกล่าวถึงประเทศเกาหลีใต้ที่กำลังก้าวไกลด้วยการพัฒนาเด็กด้วยพลังการอ่าน
เขียน  ผู้อำนวยการสถาบันการแปลวรรณกรรมเกาหลี  กล่าวว่า วัฒนธรรมการอ่านของเกาหลีใต้
เข้มแข็งมาก เพราะเชื่อว่าการอ่านย่อมส่งผลถึงสติปัญญา ซึ่งสติปัญญาคือพลังในการพัฒนา
ประเทศ  สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้อย่างชัดเจนคือ  คนเกาหลีใต้ใช้ทุกช่วงเวลาว่างอ่านหนังสือ จะนั่ง
ในรถไฟฟ้า  ร้านกาแฟ  ป้ายรถเมล์ แทบทุกคนจะพกหนังสืออยู่ในมือ  ยิ่งถ้าเป็นร้านหนังสือใหญ่ๆ
 จะเห็นแต่ละคนคล้องตะกร้าใบใหญ่ไว้ที่แขนและเลือกซื้อหนังสือราวกับซื้อของในซุปเปอร์มาเก็ต
ส่วนการสอบเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย  จะบังคับให้เด็กอ่านวรรณกรรมหนักๆ  ทั้งของต่าง
ประเทศและในประเทศเป็นหนังสือนอกเวลาตั้งแต่เด็ก  แล้วถ้าอยากเข้าเรียนต่อไม่ว่าจะคณะไหน
ก็ตามในมหาวิทยาลัยดีๆ ดังๆ นอกจากตำราเรียนแล้ว  ต้องขยันอ่านวรรณกรรมทั้งร้อยแก้ว  และ
บทกวีด้วย โดยกระทรวงศึกษาธิการ จะมีรายชื่อหนังสือที่ต้องอ่านมาให้ 5 เล่ม เพราะในการสอบ
เข้าจะมีการเขียนเรียงความในหัวข้อวิจารณ์วรรณกรรม  1 ใน 5 เล่มนั้น  ฉะนั้นการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนของเรา   ควรจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายอย่างชัดเจนให้เด็กของเรามีพฤติกรรมการ
รักการอ่านซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพการเรียนต่อไป