คณะศึกษานิเทศก์ของสพท. รบ.1 ได้ไปเยี่ยมและดูการสอนแบบ Montessori ในห้องเรียนของอาจารย์ กรรณิกฯา กระกรกุล ที่โรงเรียนอนุบาลวัดเพลง จากการสังเกตพฤติกรรมของเด็กเล็กๆแล้วน่าภูมิใจที่เด็กมีสมาธิ มีความมุ่งมั่นในการทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง ไม่ส่งเสียงดังขณะทำกิจกรรม เด็กร่วมมือทำงานกันอย่างมีสมาธิ ฯลฯ ได้สอบถามและพูดคุยกับอาจารย์กรรณิกา
แล้ว อาจารย์ได้ใช้หลักการและวิธีการของ Montessori มาเป็นเวลาประมาณหนึ่งปี หลักการที่ว่าคือ
หนึ่ง เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ ในสภาพที่แตกต่างไปจากผู้ใหญ่
สอง เด็กมีจิตที่ซึมซาบได้ เด็กมีจิตเหมือนฟองน้ำซึ่งจะซึมซาบข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม
สาม ช่วงเวลาหลักของชีวิตคือ ช่วงเวลาในระยะแรกของชีวิต
สี่ การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กเรียนได้ดีที่สุดในสภาพการจัดสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้อย่างมีจุดหมาย
ห้า การศึกษาด้วยตนเอง เด็กสามารถเรียนได้ด้วยตนเองจากการที่เด็กมีอิสระในสิ่งแวดล้อมที่จัดเตรียมเอาไว้อย่างสมบูรณ์
สภาพที่ปรากฎให้พวกเราได้เห็นไม่ใช่สิ่งที่เริ่มทำ แต่อาจารย์ผู้สอนได้ทำมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงจะเกิดผล ถ้าใครจะได้ลองนำหลักการดังกล่าวไปใช้บ้างคงจะเกิดผลได้เช่นเดียวกัน
วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
การจัดการเรียนการสอนแบบ Montessori ในโรงเรียนสพท. รบ 1
สพท.รบ . 1 มีโรงเรียนที่ทดลองใช้การเรียนการสอนแบบ Montessori ระดับชั้นอนุบาล ในโรงเรียนอนุบาลวัดเพลง โรงเรียนอนุบาลบ้านคา และโรงเรียนประชาพัฒนาวิทย์ โดยที่ครูในโรงเรียนดังกล่าวเข้ารับการอบรมด้านวิธีการสอนซึ่งสพฐ.ดำเนินการเชิญวิทยากรชาวต่างชาติมาให้การอบรม การจัดการเรียนการสอนแบบ Montessori มีบทบาทสำคัญในประเทศไทย เมื่อพ.ศ. 2547 เป็นโครงการนำร่องการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนโดยการสอนแบบ Montessori เพื่อแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กโดยดำริของคุณหญิงกษมา วรวรรณ จึงได้มีหลักสูตรMontessori สากลรุ่นแรกในประเทศไทย ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับองค์กรวิชาชีพ Montessori สากล และ สมาคมผู้บริหารMontessoriอเมริกาเหนือ ด้วยการสนับสนุนของสมาคมโรงเรียนราษฎร์แห่งประเทศไทยและสมาคมMontessori แห่งประเทศไทย ได้เปิดหลักสูตรสำหรับครูปฐมวัย เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ณ สถาบันพัฒนาครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดนครปฐม เป็นการอบรมรุ่นที่ 2 อบรมช่วงแรก ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม 2552 ถึง วันที่ 1 พฤษภาคม 2552 การอบรมครั้งนี้ครูปฐมวัยของทั้ง 3 โรงเรียนได้เข้าร่วมการอบรมและได้นำวิธีการสอนแบบ Montessori มาทดลองใช้ในปัจจุบัน และเพื่อนำข้อมูลไปประกอบการอบรมในช่วงต่อไป
วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
เทคนิค/วิธีเพื่อการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในเด็ก
การที่จะทำให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูจะต้องรู้จักวิธีการอบรมเลี้ยงดูด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งจำเป็นในการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและร่วมมือกันระหว่างบ้านและโรงเรียน วิธีที่ควรนำไปใช้มีดังนี้
1.ฝึกทักษะการสังเกต ให้เด็กได้รู้จักการสังเกตรายละเอียดต่างๆให้มากที่สุด สังเกตความเปลี่ยนแปลง ความแปลกใหม่ สภาพความเป็นไปรอบตัว การได้พบกับบรรยากาศและเล่าถึงสิ่งที่ได้พบเห็น
การรู้จักเชื่อมโยงสิ่งที่พบกับประสบการณ์เดิม การคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยให้เด็กได้สังเกต รับรู้ จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และการใช้การสัมผัสทางกาย
2.การใช้คำถามโดยให้เด็กคิดหาคำตอบ ซึ่งจะต้องเป็นคำถามให้เด็กได้อธิบาย จำแนก เปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ การให้เหตุผล การแก้ปัญหา การวิเคราะห์ คำถามดังกล่าวทำได้ตั้งแต่เด็กเล็กๆ
เช่น คำถามว่า ทำไม อย่างไร เพราะอะไร ฯลฯ
3.การให้เด็กทำงานศิลปะต่างๆ เช่น งานประดิษฐ์ การวาดภาพ การฉีกปะ การตัดหรือฉีกกระดาษ
1.ฝึกทักษะการสังเกต ให้เด็กได้รู้จักการสังเกตรายละเอียดต่างๆให้มากที่สุด สังเกตความเปลี่ยนแปลง ความแปลกใหม่ สภาพความเป็นไปรอบตัว การได้พบกับบรรยากาศและเล่าถึงสิ่งที่ได้พบเห็น
การรู้จักเชื่อมโยงสิ่งที่พบกับประสบการณ์เดิม การคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยให้เด็กได้สังเกต รับรู้ จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และการใช้การสัมผัสทางกาย
2.การใช้คำถามโดยให้เด็กคิดหาคำตอบ ซึ่งจะต้องเป็นคำถามให้เด็กได้อธิบาย จำแนก เปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ การให้เหตุผล การแก้ปัญหา การวิเคราะห์ คำถามดังกล่าวทำได้ตั้งแต่เด็กเล็กๆ
เช่น คำถามว่า ทำไม อย่างไร เพราะอะไร ฯลฯ
3.การให้เด็กทำงานศิลปะต่างๆ เช่น งานประดิษฐ์ การวาดภาพ การฉีกปะ การตัดหรือฉีกกระดาษ
วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
บทบาทของโรงเรียน Buffer School
Buffer School มีบทบาทที่จะต้องดำเนินการดังนี้
1. จัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา
2. จัดทำสื่อต้นแบบ
3. จัดที่ปรึกษาพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จัดหาสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีพหุวัฒนธรรม เพื่อทำหน้าที่ดังนี้
-จัดกิจกรรมพัฒนาหลักสูตรแบบเข้ม
-พัฒนากระบวนการเรียนรู้ วัด และประเมินผล
-พัฒนาสื่อการเรียนรู้
-พัฒนาการเรียนรู้สู่ประชาชนในชุมชน
4. จัดเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์อาเซียนศึกษา
5. จัดกิจกรรมค่ายวิชาการให้ความรู้เรื่อง ประชาคมอาเซียน
1. จัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา
2. จัดทำสื่อต้นแบบ
3. จัดที่ปรึกษาพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จัดหาสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีพหุวัฒนธรรม เพื่อทำหน้าที่ดังนี้
-จัดกิจกรรมพัฒนาหลักสูตรแบบเข้ม
-พัฒนากระบวนการเรียนรู้ วัด และประเมินผล
-พัฒนาสื่อการเรียนรู้
-พัฒนาการเรียนรู้สู่ประชาชนในชุมชน
4. จัดเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์อาเซียนศึกษา
5. จัดกิจกรรมค่ายวิชาการให้ความรู้เรื่อง ประชาคมอาเซียน
โรงเรียน Buffer School
โรงเรียนในสพท .รบ.1 มีโรงเรียนที่เป็นโรงเรียน Buffer School คือโรงเรียนบ้านตะโกล่าง และสวนผึ้งวิทยา สำหรับโรงเรียนดังกล่าว เริ่มอยู่ในโครงการพัฒนาประชาคมอาเซียน Spirit of ASEAN : Buffer School ในปีการศึกษา 2553 มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาโรงเรียนที่มีความพร้อมและศักยภาพในการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน เป็นศูนย์การเรียนรู้อาเซียน และมีศักยภาพในการจัดกิจกรรมสร้างความตระหนัก เตรียมเยาวชนไทย รวมถึงชุมชนที่รายรอบโรงเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนได้อย่างมึคุณภาพ สำหรับ Buffer School เป้าหมายคือ เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับ
นักเรียน ครู ประชาชน จัดหาและพัฒนาสื่อ หนังสือเกี่ยวกับประขชาคมอาเซียน จัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ ให้บริการแก่สถานศึกษาในเครือข่าย พัฒนาการเรียนรู้อาเซียนศึกษา และประสานสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย 4 ประเทศ ได้แก่ ลาว พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย บทบาทและหน้าที่หลักดังกล่าวโรงเรียนทั้งสองจะต้องเริ่มทำและสามารถเป็นตัวอย่างได้ โดยเฉพาะการพัฒนาหลักสูตรแบบเข้ม ตลอดจนกระบวนการเรียนการสอนเกี่ยวกับอาเซียนศึกษาต่อไป
นักเรียน ครู ประชาชน จัดหาและพัฒนาสื่อ หนังสือเกี่ยวกับประขชาคมอาเซียน จัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ ให้บริการแก่สถานศึกษาในเครือข่าย พัฒนาการเรียนรู้อาเซียนศึกษา และประสานสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย 4 ประเทศ ได้แก่ ลาว พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย บทบาทและหน้าที่หลักดังกล่าวโรงเรียนทั้งสองจะต้องเริ่มทำและสามารถเป็นตัวอย่างได้ โดยเฉพาะการพัฒนาหลักสูตรแบบเข้ม ตลอดจนกระบวนการเรียนการสอนเกี่ยวกับอาเซียนศึกษาต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)