วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การพัฒนาความจำ

                ปัจจุบันเราคิดว่าความจำไม่จำเป็น  บางคนกลับละเลยไม่สอนให้เด็กจำขณะจัดประสบการณ์ให้กับเด็กเล็ก  ความจำนั้นยังมีความจำเป็นอยู่ในการเรียนการสอนและในชีวิตประจำวันของเรา  ยิ่งเด็กปฐมวัยแล้วเราต้องทำให้เด็กของเรามีกระบวนการในการจำอย่างเป็นระบบ ซึ่งครูปฐมวัยจะต้องฝึก
ตนเองก่อนเป็นอันดับแรก   จะขอนำเคล็ดลับ การพัฒนาความจำมานำเสนอดังนี้  จากหนังสือของ
โดมินิก   โอเบรียน  ซึ่งครองแชมป์การแข่งขันความจำระดับโลกถึง 8 สมัย  ได้แนะนำวิธึพัฒนาความจำชั้นเยี่ยมขึ้นอยู่กับกระบวนการพื้นฐาน  3 ประการ คือ  1. การทำให้จำง่าย  2. เก็บสิ่งที่ต้องการจำไว้ในใจ
3. ระลึกถึงมันได้อย่างถูกต้องอีกครั้งในอนาคต     สิ่งสำคัญในการจำคือ  สมองต้องพัฒนาและต้องได้รับการพัฒนาตั้งแต่วัยเด็ก โดยการสร้างวิธีเชื่อมคำเข้าด้วยกัน โดยอาศัยพลังจินตนาการของเรา เช่น  ถ้าเราต้องการจำสิ่งของ 5  อย่างเรียงตามลำดับ เช่น  มือ เนย แม่เหล็ก  หนังสือ และแผนที่   ให้ลอง
จินตานาการว่าจุ่มมือของคุณลงในเนย  แล้วดึงแม่เหล็กออกมา แม่เหล็กจะดึงดูดตัวเราเข้าไปในหนังสือ   ซึ่งปรากฏว่าเป็นหนังสือแผนที่   นอกจากนั้นการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ   เพื่อผ่อนคลายและป้อนออกซิเจนเข้าสู่สมอง จะช่วยให้เราจดจำเรื่องราวต่างๆ  โดยใช้ภาพ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการเรียนรู้โดยมี  กฎทอง 5  ข้อ  ในการจำระยะยาว คือ  การทบทวน 5 ครั้ง  ได้แก่ 1 ชั่วโมงถัดไป  จากนั้น 1 วันถัดไป  1 อาทิตย์ถัดไป 1 เดือนถัดไป  และ 3เดือนถัดไป

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

              กิจกรรมเสริมประสบการณ์ หรือกิจกรรมในวงกลมมีจุดประสงค์เพื่อเน้นให้เด็กฝึกทักษะกระบวนการมากกว่าเนื้อหา   กระบวนการในเด็กนั้นเมื่อเกิดการเรียนรู้แล้วจะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจในเนื้อหาได้เอง สิ่งที่ได้จากการจัดประสบการณ์ดังกล่าวทำให้เด็กมีพฤติกรรมดังนี้
             มีคุณธรรมจริยธรรม
             รู้จักการใช้การสังเกตและร่วมแสดงความคิดเห็น
             มีทักษะกระบวนการคิดพื้นฐาน
             มีสมาธิในการฟัง
             มีการกล้าแสดงออก
             มีมารยาทในการฟัง  การพูด
             มีความสามารถในการสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัว

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

โครงการเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ครูทุกคนมีข้อมูลต่างๆของนักเรียนทุกคนที่จะใช้ในการวางแผนจัดการในชั้นเรียนของตนเองได้ถูกต้อง

ผู้ปกครองนักเรียนมีความเชื่อมั่นต่อคุณภาพในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเพิ่มขึ้น
 

 โรงเรียนมีข้อมูลนักเรียนในการวางแผนพัฒนาและแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็น

 โรงเรียนมีข้อมูลที่จะนำเสนอให้หน่วยงานอื่นได้นำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น

การเคลื่อนไหว : เด็กปฐมวัยและการเล่น

        การเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย   มผลต่อกระบวนการพัฒนาด้านร่างกายซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบโครงสร้างของร่างกาย ตั้งแต่กล้ามเนี้อใหญ่ และกล้ามเนื้อเล็ก สมองของเด็กในวัยนี้เป็นช่วงที่พัฒนาทักษะด้านการเคลื่อนไหวที่ดีที่สุด เด็กต้องได้รับการพัฒนาความสามารถในการใช้ตา  มือ ขา   เท้า และประสาทรับความรู้สึกต่างๆ ให้สัมพันธ์กัน 

 ดังนั้นการเล่นในเด็กปฐมวัยจึงมีความจำเป็น  เด็กเล็กๆต้องจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการเล่นให้เหมาะสมกับวัยและจัดอย่างต่อเนื่อง การเล่นมึคุณค่าหลายประการ
เช่น 
                การเล่นช่วยระบายความเครียด ทำให้เด็กคลายความกังวล
                การเล่นช่วยพัฒนาการเรียนรู้
                การเล่นช่วยพัฒนาการรับรู้
                การเล่นช่วยพัฒนาการด้านร่างกาย การเคลื่อนไหว
                การเล่นเป็นการเตรียมสมองให้พร้อมในการใช้งาน
                               ฯลฯ

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความรู้เรื่องสมอง : เด็กปฐมวัย

การจะพัฒนาเด็กปฐมวัยในเรื่องสมอง ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสมองไม่มากก็น้อย ความรู้ดังกล่าวที่ควรรู้และตระหนักมีคังนี้

-สมองในเด็กปฐมวัย ส่วนที่พัฒนาอย่างรวดเร็วคือสมอง ส่วนเคลื่อนไหวและส่วนของสัมผัส
-หลักสูตร และกระบวนการพัฒนาสมองที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยมีความสำคัญ
-สมองพัฒนาตามระยะพัฒนาการ
-สมองแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
-สมองของแต่ละคนมีการเรียนรู้ได้
-สมองจะพัฒนาเต็มตามศักยภาพเมื่อผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามหลักการและกระบวนการเรียนรู้ที่ออกแบบในแนวทางที่เข้าใจถึงพัฒนาการของสมองตามวัย