วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์อาเซียนศึกษา : บุคลากรที่ควรรู้จัก

        ในโรงเรียนสวนผึ้งวิทยา และโรงเรียนบ้านตะโกล่างซึ่งเป็น Buffer School ในปีการศึกษา 2553 จะ
มีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน ที่เรียกว่าศูนย์อาเซียนศึกษา  และมีคำศัพท์ที่ใช้ในการเรียกบุคลากรประเภทต่างๆ ในการดำเนินงาน  สำหรับคำศัพท์ที่ใช้กันนั้น  พอจะสรุปให้เข้าใจได้คือ
       Buffer School คือ โรงเรียนที่จัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และมีศูย์อาเซียนศึกษา เน้น
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เทคโนโลยี และภาษาอาเซียนอีก 1 ภาษา (สพท. รบ. 1 คือ ภาษาพม่า)
       ศูนย์อาเซียนศึกษา คือ ศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นในโรงเรียน Buffer School  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ จัดกิจกรรม
สร้างความตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน สำหรับครู นักเรียน รวมถึงชุมชนที่รายรอบโรงเรียน และ
โรงเรียนเครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน และพัฒนาเยาวชนไทยให้มีสมรรถนะที่สำคัญ
สำหรับการดำเนินชีวิตในประชาคมอาเซียน
        ที่ปรึกษาของศูนย์อาเซียนศึกษา  คือบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดทำหลักสูตรเกี่ยวกับ
อาเซียนศึกษา  การจัดกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาครู การบริหารจัดการโครงการ และสามารถใช้
ภาษาอังกฤษ และภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนเพิ่มอีก 1 ภาษา รวมทั้งใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
และสารสนเทศ ในการสืบค้นและการสื่อสารกับประเทศในประชาคมอาเซียน
        เจ้าหน้าที่ปรจำศูนย์อาเซียนศึกษา  คือ บุคคลที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ
การใช้ภาษาอังกฤษ และหรือภาษาของประเทศประชาคมอาเซียนในการสื่อสาร  ทำหน้าที่สร้างความตระหนักเกี่ยวกับการเตรียมคนสู่ประชาคมอาเซียน  จัดกิจกรรมการเผยแพร่ความรุ้และสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนให้กับโรงเรียนที่เป็นที่ตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา โรงเรียนเครือข่ายอาเซียนศึกษา
ประชาชนในพื้นที่
         ครูผู้รับผิดชอบศูนย์อาเซียนศึกษา  คือ ครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษา
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ  การใช้ภาษา
อังกฤษและหรือภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสื่อสาร  ที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้บริหาร
โรงเรียนให้ทำหน้าที่ประสานงาน  เป็นพี่เลี้ยง  และกำกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์
อาเซียนศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น