วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553

คุณภาพนักเรียน : โครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน

          โรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษา   ของสพท. รบ.1(โรงเรียนสวนผึ้งวิทยา  และโรงเรียนบ้าน
ตะโกล่าง)  ในปีการศึกษา 2553   จะต้องจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนสู่ประชาคมอาเซียน   คือ
           กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรมนักเรียนของโรงเรียนต้องมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน  เอื้ออาทรและแบ่งปัน เข้าใจตนเองและผู้อื่น  ยอมรับในความแตกต่างและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ค่านิยม  ความเชื่อ  และนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต  เพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายได้อย่างมีความสุข  
          กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ นักเรียนของโรงเรียนจะต้องมีเจตคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ / ภาษาต่างประเทศที่  2  เพื่อการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ แส่วงหาความรู้ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องราวและวัฒนธรรมที่หลากหลายของเจ้าของภาษา  และนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตในประชาคม
อาเซียน
          แนวการจัดการเรียนรู้   การจัดการเรียนรู้เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้   จัดการเรียนรู้โดยใช้การบูรณาการ   ปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้ตามความ
เหมาะสม    และออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยเลือกใช้วิธีสอนและเทคนิคการสอน  สื่อ แหล่งเรียนรู้  
การวัดประเมินผลที่หลากหลายตามสภาพจริง
        

วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักเรียนสู่ประชาคมอาเซียน

           ในปีการศึกษา  2553  มีโรงเรียนที่เป็นตัวอย่างการพัฒนาการเรียนการสอนให้กับนักเรียนสู่ประชาคมอาเซียน    คือโรงเรียนสวนผึ้งวิทยา  และโรงเรียนบ้านตะโกล่าง ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี  เขต 1 สำหรับเป้าหมายของการพัฒนานักเรียนสู่ประชาคมอาเซียน  เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมนักเรียนสู่ประชาคมอาเซียนโดยมีเป้าหมาย     ที่ต้องการให้เกิดกับนักเรียนตามระดับชั้นต่างๆ ดังนี้
          นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4-6   เข้าใจและอธิบายความรู้พื้นฐานกี่ยวกับอาเซียน
          นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่   1-3   ปฏิบัติตนและเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับอาเซียน
          นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่    4-6   ตระหนักถึงความสำคัญของอาเซียนและเผยแพร่
          ทั้งหมดที่กล่าวจะเห็นได้ว่า  เป้าหมายที่สำคัญ คือต้องการพัฒนาโรงเรียนที่มีความพร้อมและศักยภาพ ให้จัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน  เพื่อให้นักเรียนมีความตระหนักถึงความสำคัญของอาเซียน  มีความรู้ความเข้าใจ  จนกระทั่งปฏิบัตตน และเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับอาเซียน 

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์อาเซียนศึกษา โรงเรียน Buffer School

         สพท.รบ. 1  มีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียนศึกษาที่โรงเรียนสวนผึ้งวิทยา  กับโรงเรียนบ้าน
ตะโกล่าง   ที่เรียกว่าเป็นโรงเรียน  Buffer  School   ขณะนี้กำลังดำเนินการไปสู่เป้าหมาย ที่ทางสพฐ.  ได้กำหนดไว้    ต่อไปโรงเรียนดังกล่าวจะเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียนศึกษาสำหรับนักเรียน  ครู  ประชาชน   มีบทบาทดังนี้
         1)  จัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา
         2)  จัดทำสื่อต้นแบบ
         3)  จัดจ้างที่ปรึกษาพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จัดหาสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีพหุวัฒนธรรม  เพื่อทำหน้าที่ ดังนี้
                จัดกิจกรรมพัฒนาหลักสูตรแบบเข้ม
                 พัฒนากระบวนการเรียนรู้ วัดและประเมินผล
                 พัฒนาสื่อการเรียนรู้
                 พัฒนาการเรียนรู้สู่ประชาชนในชุมชน
          4) จัดจ้างเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์อาเซียนศึกษา  มีความรู้ขั้นต่ำระดับปริญญาตรี/ โท มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ / ภาษาประเทศเพื่อนบ้าน  การใช้ ICT  ในการประสานงาน  ให้บริการการจัดกิจกรรมอาเซียนศึกษาในโรงเรียน และเครือข่ายพื้นที่ใกล้เคียง
           5) จัดกิจกรรมค่ายวิชาการให้ความรู้เรื่องประชาคมอาเซียน