วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เตรียมตัวสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียน

             ขณะนี้โรงเรียนต่างๆอย่างเช่่่นโรงเรียนในสพป.รบ. 1 ได้มีการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนเพื่อการเตรียมตัวไปสู่ประชาคมอาเซียนในหลายๆด้าน เพื่อจะได้รองรับการเปลี่ยนแปลงที่คาดเดาว่าจะต้องเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องทักษะการใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษากลางในการใช้ติดต่อสื่อสารในระหว่างประเทศสมาชิก ทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษจึงมีความจำเป็นสำหรับนักเรียน


ที่จะต้องเร่งส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กเห็นความจำเป็นและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ โดยครูผู้สอนได้เริ่มสร้างความตระหนักในความจำเป็นและความสำคัญของภาษาอังกฤษ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนเกิดความสนุกสนานพร้อมกับฝึกทักษะต่างๆไปพร้อมกัน ซึ่งอยู่ที่ความสามารถของครูในการวิเคราะห์ที่จะทำให้นักเรียนมีทักษะด้านฟัง พูด อ่าน หรือเขียน และจะต้องออกแบบกิจกรรมให้มีความยากหรือง่ายตามระดับอายุุของนักเรียน โดยมีศูนย์เครือข่ายต่างๆได้จัดกิจกรรมการอบรมครูทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา นอกจากความสำคัญของภาษาแล้วยังส่งเสริมให้ครูได้ให้ความสำคัญกับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็กตั้งแต่ปฐมวัย ประถม และมัธยม อย่างเช่นการให้ผู้เรียนมีระเบ่ียบวินัย การเคารพกฎหมาย ความขยันหมั่นเพียร ความอดทนอดกลั้น ความซี่อสัตย์  ความเป็นไทย เป็นต้น การเตรียมพร้อมดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมกันจากบุคลากรหลายฝ่ายทั้งผู้บริหาร ครู พ่อแม่ ผู้ปกครองและชุมชน  

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน

              ปัจจุบันโรงเรียนทุกโรงเรียนต้องเตรียมพร้อมที่จะไปสู่ประชาคมอาเซียนในปีพ.ศ. 2558 สำหรับโรงเรียนต่างๆที่จะดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียนนั้น สามารถจัดทำโครงสร้างหลักสูตรของโรงเรียนได้ใน 3 ลักษณะคือ
              - จัดทำรายวิชาพื้นฐานที่บูรณาการอาเซียน
              - จัดทำรายวิชาเพิ่มเติมที่เน้นอาเซียน
              - จัดทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่เน้นอาเซียน
              สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงคือ
ด้านองค์ความรู้
              - ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน - ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียน
              - วิถีชีวิต/พหุวัฒนธรรม - ประชาคมอาเซียน กฏบัตรอาเซียน ปฎิญญาอาเซียน
              - ประเด็นสำคัญ เช่น พลเมือง สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย ประวัติศาสตร์เชิงบวก
                 สันติศึกษา สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฯลฯ
ทักษะ/กระบวนการ
              - การใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน - การใช้ ICT -การคำนวณ การให้เหตุผล
              - กระบวนการคิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ แก้ปัญหา
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เช่น มีทักษะชีวิต กล้าแสดงออก เอื้ออาทรและแบ่งปัน  เข้าใจตนเองและผู้อื่น ฯลฯ
              ดังนั้นทุกโรงเรียนสามารถดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียนได้จากแนวทางดังกล่าว

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

งานวิจัย:การเรียนรู้คณิตศาสตร์

                               คณิตศาสตร์มีความสำคัญต่อมนุษย์ตลอดชีวิต เพราะมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาความคิดทั้งความคิดอย่างมีเหตุผล การคิดอย่างมีระบบ การคิดแก้ปัญหาสามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ
และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนั้นคณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่นๆ การเรียนรู้คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต มีข้อโต้เถียงที่ว่าผู้ชายมีความสามารถด้านคณิตศาสตร์มากกว่าผู้หญิงหรือไม่ เมื่อเร็วๆนี้ มีงานวิจัยโดยนักวิจัยอเมริกันชื่อ Janet Mertz และ Jonathan Kane ได้ศึกษาข้อมูลผลการเรียนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนจากนานาประเทศ 86 ประเทศที่ได้จาก 2007 International Mathenatics and Science Study and
2009 Programme in International Student Assessnent และผลการศึกษาพบว่า ความแตกต่างทางเพศไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แต่ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของทั้งผู้ชายและผู้หญิงคือ ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันระหว่างชุมชนเมืองหรือประเทศ ซึ่งผลการศึกษานี้สามารถหักล้างความคิดที่ว่าเพศเป็นตัวกำหนดความสามารถของบุคคล ไม่เฉพาะด้านคณิตศาสตร์เท่่านั้น ผลที่ได้จากงานวิจัยดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในการจัดกการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ให้กับเด็กไทยของเรา คือเด็กทุกคนมีโอกาสในการเรียนรู้ที่เท่าเทียมกันไม่ว่าเพศหญิงหรือเพศชาย

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

               ขณะนี้โรงเรียนต่างๆได้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1และ 4 มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 ในการใช้หลักสูตรดังกล่าวโรงเรียนมีหน้าที่สำคัญในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสามารถพัฒนาให้เกิดคุณภาพได้โดยการใช้การวิจัยและพัฒนา สิ่งสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และรายละเอียดของเขตพื้นทีการศึกษาที่ได้จัดทำขึ้น นอกจากนั้นสถานศึกษาสามารถเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความต้องการของผู้เรียน  การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษานั้นทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินการดังกล่าว