วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

โรงเรียนเครือข่ายของศูนย์อาเซียนศึกษา

           โครงการพัฒนาประชาคมสู่อาเซียน  ของ สพท รบ 1  เป็นการดำเนินการในช่วงปี   พ.ศ.  2553-2555     ขณะนี้มีโรงเรียนในเครือข่ายประชาคมอาเซียน อยู่ทั้งหมด  17 โรงเรียน  แยกเป็นเครือข่าย
ของศูนย์อาเซียนศึกษาโรงเรียนสวนผึ้งวิทยา จำนวน 9  โรงเรียน   และศูนย์อาเซียนศึกษาโรงเรียน
บ้านตะโกล่าง จำนวน   8  โรงเรียน มีรายชื่อโรงเรียน ดังนี้
            ศูนย์อาเซียนศึกษาโรงเรียนสวนผึ้งวิทยา  โรงเรียนที่เป็นเครือข่าย ได้แก่
                    -โรงเรียนคุรุราษฏร์รังสฤษฎ์
                    -โรงเรียนบ้านคาวิทยา
                    -โรงเรียนด่านทับตะโกราษฎร์อุปถ้มภ์                   
                    -โรงเรียนปากท่อพิทยาคม
                    -โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย
                    - โรงเรียนวัดสันติการามวิทยา
                    - โรงเรียนอนุบาลสวนผึ้ง
                    - โรงเรียนรุจิรพัฒน์
                    -โรงเรียนธรรมศาสตร์-จุฬา  2

              ศูนย์อาเซียนศึกษาโรงเรียนบ้านตะโกล่าง  โรงเรียนที่เป็นเครือข่าย ได้แก่
                     -โรงเรียนอนุบาลบ้านคา
                     -โรงเรียนสินแร่สยาม
                     -โรงเรียนบ้านหินสี
                     -โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา
                     -โรงเรียนบ้านสวนผึ้ง
                     - โรงเรียนวัดนาขุนแสน
                     - โรงเรียนบ้านท่ามะขาม
                     - โรงเรียนวัดหนองพันจันทร์
             โรงเรียนเครือข่ายทั้งหมดจะได้มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ในเรื่องอาเซียนศึกษา  อันจะทำให้
นักเรียน  ครู ชุมชนรอบโรงเรียนมีความรู้เรื่องอาเซียน  พัฒนาประชาคมสู่อาเซียน
 .

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การสอนหลักสูตรการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย วิธีเรียนทางไกล

        สถาบัน กศน.ภาคกลาง  ได้เชิญศึกษานิเทศก์ของสพท.รบ 1 คือนางสาวดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์
และครูโรงเรียนอนุบาลราชบุรี คือนางสาวอุทัย  ธารมรรค ไปเป็นวิทยากรให้ความรู้กับนักศึกษา
หลักสูตรการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย  วิธีเรียนทางไกล   รุ่นที่ 1/2553 จำนวน  14 คน    ลักษณะของการ
อบรมเป็นการสัมมนาวิชาชีพฯ และปัจฉิมนิเทศนักศึกษาทางไกล ก่อนจบหลักสูตร  จัดในช่วงของภาคฤดูร้อน   เป็นหลักสูตรที่มีความสำคัญ  สำหรับให้ความรู้กับบุคคลทั่วไปที่ต้องการมีความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก  การเรียนสามารถเรียนรู้ได้เองที่บ้าน  ค่าใช้จ่ายไม่แพง  ไม่ต้องเสียเวลามาเรียน
ก่อนจบมีการสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้   ประสบการณ์ และได้ฝึกปฏิบ้ติกิจกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
จากการไปครั้งนั้นได้แลกเปลี่ยนความรู้กับ บุคลากรหลายสาขาที่มีความสนใจเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดู
เด็ก นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้เข้ารับการสัมมนา   แต่ยังมีข้อจำกัดคือยังมีคนอีกจำนวนมากที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับหลักสูตรดังกล่าว    ซึ่งทางสถาบันจะได้ทำการประชาสัมพันธ์ให้มากยิ่งขึ้นต่อไป

วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์อาเซียนศึกษา : บุคลากรที่ควรรู้จัก

        ในโรงเรียนสวนผึ้งวิทยา และโรงเรียนบ้านตะโกล่างซึ่งเป็น Buffer School ในปีการศึกษา 2553 จะ
มีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน ที่เรียกว่าศูนย์อาเซียนศึกษา  และมีคำศัพท์ที่ใช้ในการเรียกบุคลากรประเภทต่างๆ ในการดำเนินงาน  สำหรับคำศัพท์ที่ใช้กันนั้น  พอจะสรุปให้เข้าใจได้คือ
       Buffer School คือ โรงเรียนที่จัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และมีศูย์อาเซียนศึกษา เน้น
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เทคโนโลยี และภาษาอาเซียนอีก 1 ภาษา (สพท. รบ. 1 คือ ภาษาพม่า)
       ศูนย์อาเซียนศึกษา คือ ศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นในโรงเรียน Buffer School  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ จัดกิจกรรม
สร้างความตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน สำหรับครู นักเรียน รวมถึงชุมชนที่รายรอบโรงเรียน และ
โรงเรียนเครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน และพัฒนาเยาวชนไทยให้มีสมรรถนะที่สำคัญ
สำหรับการดำเนินชีวิตในประชาคมอาเซียน
        ที่ปรึกษาของศูนย์อาเซียนศึกษา  คือบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดทำหลักสูตรเกี่ยวกับ
อาเซียนศึกษา  การจัดกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาครู การบริหารจัดการโครงการ และสามารถใช้
ภาษาอังกฤษ และภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนเพิ่มอีก 1 ภาษา รวมทั้งใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
และสารสนเทศ ในการสืบค้นและการสื่อสารกับประเทศในประชาคมอาเซียน
        เจ้าหน้าที่ปรจำศูนย์อาเซียนศึกษา  คือ บุคคลที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ
การใช้ภาษาอังกฤษ และหรือภาษาของประเทศประชาคมอาเซียนในการสื่อสาร  ทำหน้าที่สร้างความตระหนักเกี่ยวกับการเตรียมคนสู่ประชาคมอาเซียน  จัดกิจกรรมการเผยแพร่ความรุ้และสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนให้กับโรงเรียนที่เป็นที่ตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา โรงเรียนเครือข่ายอาเซียนศึกษา
ประชาชนในพื้นที่
         ครูผู้รับผิดชอบศูนย์อาเซียนศึกษา  คือ ครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษา
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ  การใช้ภาษา
อังกฤษและหรือภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสื่อสาร  ที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้บริหาร
โรงเรียนให้ทำหน้าที่ประสานงาน  เป็นพี่เลี้ยง  และกำกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์
อาเซียนศึกษา